กะการทำงาน Shift Work
คู่มือการตั้งค่าฟังก์ชัน Shift Work (กะการทำงาน) บนระบบ TimeMint
กะการทำงาน Shift Work
ข้อควรรู้สำหรับผู้ใช้งานฟังก์ชันกะ กรณีมีกะการทำงานข้ามวัน
วิธีการลา
1.กรณีที่พนักงานมีกะการทำงานข้ามวัน ลาครึ่งวันบ่าย
ตัวอย่างวันที่ 5 มีกะการทำงาน 20:00น. - 05:00น. เวลาพัก 00:00น. - 01:00น. คือบันทึกเข้างานวันที่ 5 เวลา 20:00 น. บันทึกออกงานวันที่ 6 เวลา 05:00 น.
กรณีที่พนักงานทำการลาครึ่งวันบ่าย พนักงานต้องทำรายการลา เลือกวันที่ทำการลาวันที่ 6 เวลาเริ่มต้น 01:00น. เวลาสิ้นสุด 05:00น. (ระบบจะยึดตามวันลาที่ลาจริง)
2.กรณีที่พนักงานมีกะการทำงานข้ามวัน ลา 23:00 น. - 05:00 น.
ตัวอย่างวันที่ 5 มีกะการทำงาน 20:00น. - 05:00น. เวลาพัก 00:00น. - 01:00น. คือบันทึกเข้างานวันที่ 5 เวลา 20:00 น. บันทึกออกงานวันที่ 6 เวลา 05:00 น.
กรณีที่พนักงานทำการลา 23:00 น. - 05:00 น. พนักงานต้องทำรายการลา เลือกวันที่ทำการลาวันที่ 5 เวลาเริ่มต้น 23:00น. เวลาสิ้นสุด 05:00น. (ระบบจะยึดตามวันลาที่ลาจริง)
วิธีการขอโอที
1.กรณีที่พนักงานขอทำงานล่วงเวลา (โอที) หลังเวลาทำงาน
ตัวอย่างวันที่ 5 มีกะการทำงาน 20:00น. - 05:00น. เวลาพัก 00:00น. - 01:00น. คือบันทึกเข้างานวันที่ 5 เวลา 20:00 น. บันทึกออกงานวันที่ 6 เวลา 05:00 น. ขอทำงานล่วงเวลาหลังเลิกงาน จนถึง 08:00น.
กรณีที่พนักงานขอทำงานล่วงเวลา “หลัง” เลิกงาน พนักงานต้องทำรายการ เลือกวันที่ขอทำงานล่วงเวลา วันที่ 6 เวลาเริ่มต้นที่ขอทำงานล่วงเวลา 05:00น. จนถึงเวลา 08:00น. (ระบบจะยึดตามวันที่ทำงานล่วงเวลาจริง)
2.กรณีที่พนักงานขอทำงานล่วงเวลา (โอที) ก่อนเวลาทำงาน
ตัวอย่างวันที่ 5 มีกะการทำงาน 20:00น. - 05:00น. เวลาพัก 00:00น. - 01:00น. คือบันทึกเข้างานวันที่ 5 เวลา 20:00 น. บันทึกออกงานวันที่ 6 เวลา 05:00 น. ขอทำงานล่วงเวลาก่อนเลิกงานตั้งแต่ 18:00 น. จึงถึง 20:00 น.
กรณีที่พนักงานขอทำงานล่วงเวลา “ก่อน” เริ่มงาน พนักงานต้องทำรายการ เลือกวันที่ขอทำงานล่วงเวลา วันที่ 5 เวลาเริ่มต้นที่ขอทำงานล่วงเวลา 18:00น. จนถึงเวลา 20:00น. (ระบบจะยึดตามวันที่ทำงานล่วงเวลาจริง)
สรุปกรณีที่มีกะการทำงานแบบข้ามวัน ระบบจะยึดตามวันที่จริงที่ลาและขอโอทีโดยดูจากเวลาเริ่มต้นทำรายการลาและโอที
Last updated