1. สายตั้งแต่นาทีแรก
สำหรับองค์กรที่ต้องการความเคร่งครัดเรื่องเวลา การตั้งค่ารูปแบบนี้คือการกำหนดให้พนักงานสายตั้งแต่นาทีแรก หากมีการบันทึกเวลาช้ากว่าเวลาเข้างานที่กำหนดไว้ตั้งแต่นาทีเเรก
ทำงานอย่างไร?
พนักงานจะถูกนับว่าสายทันทีหากเข้างานเกินเวลาที่กำหนด แม้เพียง 1 นาที โดยระบบจะแสดงจำนวนนาทีที่สายและอาจรวมถึงจำนวนนาทีขาดงานในกรณีที่ส่งผลกระทบต่อชั่วโมงการทำงาน
ตัวอย่าง
พนักงานเข้างาน 08:01 → ระบบบันทึก “นาทีสาย” 1 นาที และ “นาทีขาดงาน” 1 นาที
พนักงานเข้างาน 08:30 → ระบบบันทึก “นาทีสาย” 30 นาที และ “นาทีขาดงาน” 30 นาที
เหมาะกับใคร?
องค์กรที่ต้องการควบคุมเวลาเข้าออกงานอย่างเข้มงวด เพื่อเสริมสร้างวินัยและความรับผิดชอบของพนักงาน
2. อนุโลมไม่เกินเวลาที่กำหนด
ถ้าคุณต้องการให้องค์กรมีความยืดหยุ่นขึ้นเล็กน้อย รูปแบบนี้เหมาะสมที่สุด โดย TimeMint ช่วยให้องค์กรตั้งค่า “เวลาสายอนุโลม” ได้สูงสุดถึง 60 นาที
ทำงานอย่างไร?
หากพนักงานเข้างานภายในกรอบเวลาที่อนุโลม ระบบจะไม่บันทึกว่าสาย แต่หากเกินเวลาที่กำหนด ระบบจะคำนวณและแสดงนาทีสาย รวมถึงเวลาที่กระทบชั่วโมงการทำงาน
ตัวอย่าง
กรณีที่ 1
วันที่ 5 พนักงานบันทึกเวลาเข้างาน 08:10 (อนุโลมสายไม่เกิน 20 นาที) ระบบจะไม่แสดงนาทีสาย และชั่วโมงทำงานยังคงครบ 480 นาที
กรณีที่ 2
วันที่ 4 พนักงานบันทึกเวลาเข้างาน 08:25 (เกินอนุโลม 20 นาที) ระบบจะแสดงนาทีสาย 25 นาที ขาดงาน 25 นาที และชั่วโมงทำงานในคอลัมน์ ช.ม. ทำงาน จะแสดงจำนวน 455 นาที
กรณีที่ 3
พนักงานลา 1 ชั่วโมง (08:00 - 09:00) พนักงานบันทึกเข้างาน 09:10
ระบบจะคำนวณขาดงาน 10 นาที เนื่องจากการอนุโลมสายจะมีผลเฉพาะกับเวลาเริ่มงานที่ไม่เกี่ยวกับช่วงเวลาการลา ระบบจะคำนวณว่า พนักงานขาดงาน 10 นาที เนื่องจากการอนุโลมสายมีผลเฉพาะกรณีที่พนักงานมาสายในช่วงเวลาเริ่มงานปกติ คือ 08:00 (โดยไม่มีการลา) การลางานในช่วงเวลาเริ่มงาน (เช่น 08:00 - 09:00) จะไม่ครอบคลุมการอนุโลมสาย หากพนักงานเข้างานเกินเวลาที่ลางานไว้ ระบบจะนับช่วงเวลาที่เกินนั้นเป็น “เวลาขาดงาน”หากพนักงานลางาน 1 ชั่วโมงในเวลาเริ่มงาน (เช่น 08:00 - 09:00) แต่เข้างานช้ากว่าที่ลางานไว้ (09:10) ระบบจะแสดงเวลาขาดงานในช่อง “ขาดงาน” สำหรับ 10 นาทีที่เกินเวลาลาไป
สรุป
ระบบอนุโลมเวลาสายใน TimeMint จะคำนวณตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยมีผลเฉพาะช่วงเวลาเริ่มงาน และจะแสดงรายละเอียด ในรายงานอย่างชัดเจน ทั้งนาทีสาย ขาดงาน และชั่วโมงการทำงานที่เหลือ.เหมาะกับใคร?องค์กรที่ต้องการความสมดุลระหว่างความเคร่งครัดและความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการเวลา
3. เวลาเข้างานแบบยืดหยุ่น
โดยระบบจะคำนวณเวลาทำงานจากชั่วโมงที่พนักงานทำจริง โดยพนักงานสามารถเข้างานในช่วงเวลาที่กำหนดไว้ เข้างานแบบยืดหยุ่น พนักงานจะต้องทำงานให้ครบตามจำนวนชั่วโมงที่องค์กรกำหนด
ทำงานอย่างไร?
พนักงานสามารถเข้างานได้ในกรอบเวลาที่กำหนด เช่น 08:00 - 09:00 โดยไม่ถือว่าสาย แต่ต้องทำงานให้ครบชั่วโมงตามที่องค์กรกำหนด
ตัวอย่าง
เวลาทำงานกำหนด 8 ชั่วโมง
กรณี1
เข้างาน 08:30 และออกงาน 17:30 → ชั่วโมงงานครบ 480 นาที / ไม่แสดงนาทีสาย
กรณี 2
เข้างาน 09:20 และออกงาน 18:20 → ชั่วโมงงาน: 400 นาที / นาทีสาย: 80 นาที / นาทีขาดงาน: 80 นาที
เหมาะกับใคร?
องค์กรที่ต้องการวัดผลลัพธ์การทำงาน และมุ่งเน้นประสิทธิภาพมากกว่าเวลาเข้าออก